วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลมีคุณค่า

 ข้อมูลมีคุณค่า

ในยุคของข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่ายการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และการพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลาแผนที่กระดาษในรูปแบบเดิม ไม่สามารถแสดงข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบัน และไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้ แต่ระบบแผนที่นำทาง (Global Positioning System: GPS) นอกจากแสดงสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังมีข้อมูลสภาพการจราจร ระยะเวลาเดินทาง ซึ่งมีความแม่นยำ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน เราไม่เป็นเพียงผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสร้างข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกับการอัพโหลดรูปภาพส่วนตัว การส่งอีเมล์ในแต่ละวัน การโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ การส่งต่อข้อความผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ ผู้ใช้คนอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้จัดได้ว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีความสำคัญ แต่หากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำมาประมวลผล ก็จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ ดังคำกว่าที่ว่า ข้อมูลนั้นมีค่าดั่งน้ำมันดิบ


Image for post


นาย วัชชิระ นาย วัชชิระ ล้อกสิกรวัฒนา เลขที่15 

โรคระบาด Covid-19

 โรคระบาด Covid-19 

4.1  ข้อมูลการระบาดของโรค ที่มา ให้รู้จักโรคความเป็นมาของโรค Covid-19  

ที่มาของโรค

ขณะนี้ยังไม่มีใครทราบชัดเจนถึงแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ก่อนหน้านี้มีการสันนิษฐานว่า ไวรัสชนิดนี้อาจเริ่มติดต่อจากสัตว์ป่ามาสู่คน โดยมีต้นตอของการแพร่ระบาดจากงูเห่าจีน (Chinese cobra) และงูสามเหลี่ยมจีน (Chinese krait) ที่นำมาวางจำหน่ายในตลาดสดเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นสถานที่พบผู้ติดเชื้อกลุ่มแรก ๆ

ทีมผู้วิจัยสันนิษฐานว่า งูอาจเป็นสัตว์ตัวกลางที่ส่งต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาสู่คน เนื่องจากงูพิษที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติล่าค้างคาวในถ้ำเป็นอาหาร แต่ก็ยังคงมีข้อสงสัยว่า ไวรัสโคโรนาสามารถปรับตัวให้อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ในร่างกายของทั้งสัตว์เลือดเย็นและสัตว์เลือดอุ่นได้อย่างไร


ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ตัวนิ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ชาวจีนเชื้อว่ามีสรรพคุณตามตำรายาแผนโบราณนั้น อาจเป็นพาหนะนำเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวมาแพร่สู่คนที่ตลาดค้าสัตว์ป่าเมืองอู่ฮั่น

นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวนิ่มซึ่งใช้ลิ้นตวัดกินมดและแมลงตามพื้นดินนั้นอาจได้รับเชื้อจากการสูดหายใจมูลค้างคาวที่ตกอยู่ตามพื้นดินเข้าไป

Woman coughing

แหล่งที่มา https://www.bbc.com/thai/features-51734255

4.2  วิธีการการป้องกัน และการดำเนินการของประเทศไทย

การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่(โควิด-19) ได้รับการประกาศให้เป็น ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern – PHEIC) ซึ่งเชื้อไวรัสได้แพร่ไปยังประเทศและดินแดนต่าง ๆ มากมาย แม้เราจะยังไม่ทราบเกี่ยวกับต้นตอของการเกิดโรคโควิด-19 แต่เราก็ทราบว่าไวรัสชนิดนี้ถ่ายทอดผ่านการสัมผัสโดยตรงกับฝอยละออง (Droplet) จากลมหายใจของผู้ติดเชื้อ (ที่เกิดจากการไอและจาม) และจากการที่บุคคลสัมผัส พื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่แล้วไปสัมผัสบริเวณใบหน้าของตนอีกที (เช่น ตา จมูก ปาก) ขณะที่โรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ สถานศึกษาจะต้องดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ลดผลกระทบของการระบาด และสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมโรค

การป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและสถานศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยจะต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งดูแลไม่ให้นักเรียน นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ถูกตีตราหากติดเชื้อ ซึ่งโรคโควิด-19 เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้นทางพรมแดน เชื้อชาติ ภาวะทุพพลภาพ อายุ หรือเพศสภาพ สถานศึกษา ควรให้การต้อนรับและเคารพทุกคนแบบไม่แบ่งแยก และมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการเรียนรู้สำหรับทุกคน มาตรการของสถานศึกษาจะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อของเด็ก เยาวชน และเจ้าหน้าที่ที่อาจได้รับเชื้อไวรัส พร้อมทั้งลดปัญหาการหยุดเรียนกลางคันของเด็ก และคุ้มครองเด็กและเจ้าหน้าที่จากการเลือกปฏิบัติ


ส่องมาตรการไร้โควิด-19 ที่ปั๊มน้ำมันเอสโซ่ - Energy News Center

แหล่งที่มา https://www.unicef.org/

  4.3  การอ่านข้อมูลสถิติการระบาดในปัจจุบัน และแนวโน้มการระบาด โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟ พร้อมแนบวิดิโอ หรือกราฟมาด้วย

ข้อมูลสําคัญ • ในวันที่19 มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขแถลงผลตรวจโรคจากห้องปฏิบัติการ และ ยืนยันการพบผู้ป่วยใหม่ 60รายจากโรคโควิด 19 ทําให้จํานวนรวมของผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี ้ ในประเทศไทย อยู่ที่272ราย • ผู้ป่วยใหม่ 12 รายมีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มผู้ติดเชื ้อจากสถานบันเทิง (ณ ตอนนี ้พบผู้ป่วย แล้ว 57 ราย) และ 14 รายมีความเกี่ยวโยงกับกลุ่มผู้ติดเชื ้อจากสนามมวย (ณ ตอนนี ้พบ ผู้ป่วยแล้ว 52 คน) ในผู้ป่ วยกลุ่มนี ้ยังประกอบด้วยพนักงานเสิร์ฟ พนักงานฝ่ ายบริหาร ผู้ชมและญาติ • ผู้ป่วย 12 รายเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่ วยรายอื่นที่ได้มีการรายงานไปก่อนหน้านี ้ ผู้ป่ วย 5 รายมีความเกี่ยวโยงกับการเข้าร่วมศาสน พิธีที่ประเทศมาเลเซีย ผู้ป่วย 13รายมีปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวต่างชาติเนื่องจากการทํางาน และอีก 4ราย กําลังอยู่ในระหว่าง สอบสวนโรค • จากจํานวนผู้ป่ วยด้วยโรคโควิด 19 ที่ได้รับการยืนยันทั้งหมด 272รายในประเทศไทย มี 42 รายที่หายเป็นปกติแล้ว 229 รายกําลัง รักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาล และมีผู้เสียชีวิต 1ราย • จํานวนสะสมของผู้ป่ วยเฝ้าระวังที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอยู่ที่ 8,157ราย นับตั ้งแต่ที่เริ่มมีการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย ผู้ป่ วย 3,572รายในจํานวนนี ้กําลังได้รับการวินิจฉัยหรือการรักษา โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี ้ยังรวมถึงบุคคลที่กําลังได้รับการรักษาด้วย อาการป่วยอื่น ๆ ซึ่งไม่ถือเป็นผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด 19อีกต่อไป • ประเทศไทยแถลงว่าจะเข้าร่วมวิจัยในโครงการ Solidarity Trial ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ระดับ นานาชาติเพื่อคิดค้นยารักษาสําหรับโรคโควิด 19 โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเร่งด่วนระดับโลกในการหายารักษาโรคโควิด


บันทึก สถานการณ์โควิด-19 (โรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ; COVID-19)  ประจำประเทศไทย | Information COVID19 Record |

แหล่งที่มา https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
ลิ้งวิดิโอโควิช19 https://youtu.be/39cBnOuy-5w


จัดทำโดย นาย ปฎิภาณ เอกจีน ม.5/8 เลขที่17

Big Data

 3.2Big Data

นินิยามและความสำคัญยามและความสำคัญ

 Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่/ปริมาณมาก หรือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาล ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)  เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกที่มาจากการติดต่อระหว่างองค์กร หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่

Big Data มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ

  • ปริมาตร (Volume) หมายถึง ข้อมูลนั้นมันต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่สามารถประมวลผลปริมาณของข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลได้ จำเป็นต้องใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และซอฟต์แวร์ฮาดูป (Hadoop) ทำงานประสานกันในการบริหารจัดการข้อมูล
  • ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ข้อมูลดังกล่าวต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายโทรศัพท์ที่ถูกอับโหลดขึ้น ข้อมูลการพิมพ์สนทนา ข้อมูลวิดีโอ รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อสิ้นค้า พูดง่าย ๆ คือ ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลาแบบไม่มีหยุดยั้งนั่นแหละ
  • ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบข้อมูลต้องมีความหลากหลาย อาจจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งผมไม่ขอลงลึกนะเพราะมันซับซ้อนมาก แต่เอาเป็นว่ารูปแบบข้อมูลของ Big Data มันมีทุกอย่าง ไม่ได้จำกัดแค่พวกข้อความ อีเมล์ รูปภาพ ฯลฯ เท่านั้น
  • Veracity ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อการประกอบการพิจารณาได้
ZXZX

จัดทำโดย นาย ปฎิภาณ เอกจีน ม.5/8 เลขที่17

ยุค 5G/6G , Iot , AI

 3.3 ยุค  5G/6G ,  Iot  , AI

นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เมื่อ 5G กำลังจะถูกทยอยนำมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เหล่าวิศวกรทั้งหลายก็หันมาให้ความสนใจกับขั้นต่อไปของเทคโนโลยีว่าจะออกมาในรูปแบบไหนโดยเจ้าเทคโนโลยีล่าสุด 5G (ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 5) นั้น ทั่วโลกเริ่มมีการทดสอบและลองใช้กันบ้างแล้ว (ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้) ซึ่งก็นำมาสู่คำถามที่ว่าหลังจากนี้จะมีอะไรอีก? 6G จะเป็นแบบไหนกัน? แตกต่างกันยังไง? มีอะไรที่สามารถทำเพิ่มขึ้นมาได้บ้างจาก 5G? แต่ก็มีบางอย่างที่พอเป็นเค้าลางให้เห็นว่ามันน่าจะออกมาในรูปแบบไหน เรื่องนี้ต้องขอบคุณผลงานของ Razvan-Andrei Stoica และ Giuseppe Abreu ที่มหาวิทยาลัย Jacobs University Bremen ประเทศเยอรมนี ทั้งสองคนได้นำเอาข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5G มาชำแหละและดูว่ามีปัจจัยไหนที่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และ 6G น่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี A 5G นั้นพัฒนามาไกลกว่ามาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ตอนนี้เป็นอย่างมาก อย่างแรกคือเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า 4G อย่างที่เรียกว่าเทียบกันไม่เห็นฝุ่น โดย 5G จะมีความเร็วประมาณ 20Gbps เทียบกับ 4G แล้วจะเร็วกว่า 100-200 เท่า! (4G อยู่ที่ 10-20 Mbps) ถ้าเปรียบเทียบเป็นภาพยนตร์ HD สักเรื่องบน 4G ถ้าไปอยู่บน 5G ก็จะดูหนังแบบ 8K ได้ประมาณ 400 เรื่องในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ทำให้ 5G นั้นน่าสนใจอีกอย่างคือ Low Latency Rate หรือความไวในการตอบสนองของข้อมูล สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G เฉลี่ยใช้งานจริงจะอยู่ราว 100-200ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 100 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎี


แหล่งที่มา https://thematter.co/thinkers/the-future-of-6g/76263

จัดทำโดยนาย วัชชิระ ล้อกสิกรวัฒนา เลขที่15 ม.5/8

วิทยาการข้อมูล(data science)

3.1  วิทยาการข้อมูล(data science)

วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคต

โดยหลักการแล้ว Data Science ประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆ คือ Hacking Skill (สกิลเกี่ยวกับ Computer Programimg, Data Base, Big data Technologies)  Statistic & Math (ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์)  Substantive Expertise (หรือ Domain Knowledge)  Presentation (ทักษะการนำเสนอข้อมูล) และ Visualization 

Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things  หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง







แหล่งที่มา https://www.admissionpremium.com/it/news/3079





จัดทำโดย นาย ปฎิภาณ เอกจีน ม.5/8 เลขที่17





ฟอร์มของ นายปฎิภาณ เลขที่17

กำลังโหลด… https://youtu.be/s1L46NgYgsg